Follow us on

LIFESTYLE

FIERCE STORY

6 วิธีใช้เงินอย่างฉลาด ENJOY LIFE ยังไงให้ชีวิตดี๊ดีแถมมีเงินเหลือ

Written by Blindchef
Created: Jul 01, 2016 04:17 | Published date: Aug 01, 2016 00:59


Money Tips วิธีออมเงิน วิธี เคล็ดลับ หาเงิน


21813 0 0

สำหรับสาวเฟียร์ซตัวแซ่บที่รักการช้อปเป็นชีวิตจิตใจ อะไรมาอะไรดีอะไรเร้าใจแม่คว้าหมด อุ๊ยตื่นเต้ลล ^^ แต่พอเข้ากลางเดือนกดเอทีเอ็ม.... อุต๊ะ!!! เงินฉันหายไปไหนนี่ พอบิลบัตรเครดิตมาก็ร้องเพลงเจ "กองไว้ตรงนั้น...

 

 

วันนี้เฟียร์ซไม่ได้มาเขียนความตอกย้ำทับถม แค่อยากมาแนะทิปส์การช้อปปิ้งใช้เงินให้สุดคุ้ม ให้ใช้เงินเป็น อุดทุกรูรั่วที่เราเลือกจะเลี่ยงได้ (แล้วทำไมไม่เลี่ยง) จะได้เหลือเก็บไปเป็นทุนทำอะไรต่อมิอะไรได้ต่อ ต้องทำอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

 


Image: Bigstock, Dreamstime

 

 

 


1. กินข้าวในห้างหรือร้านหรูๆให้น้อยลง เปลี่ยนมาเปิดประสบการณ์กินแบบหลากหลายจากร้านอร่อยราคาย่อมเยาแนวสตรีทฟู้ดกันบ้าง -- ลองคิดดูนะคะ ก๋วยเตี๋ยวข้างทาง 40 บาท Spaghetti ร้านหรูรวม Vat 7% รวม Service Charge 10% แล้วราคา 200 up (ราคาต่างกัน 5 เท่า) สมมติว่าคุณกินร้านหรูทุกวัน วันละจาน ใน 1 เดือน เราจะเสียเงินไปอย่างต่ำๆ 200×30=6,000 บาท 

 

 

 

แต่ถ้าเราลดการกินในร้านหรูเหลือสัปดาห์ละครั้งมาเป็นร้านข้างทางแทน เราจะใช้เงินเพียง (200×4)+(40×26)=1,840 บาท เท่ากับว่าเดือนนึงจะประหยัดไปได้ 4,160 บาทแหน่ะ ลดไปได้ไม่ใช่น้อย นี่แค่คิด 1 มื้อต่อวันเท่านั้นนะ ลองคูณ 12 เดือนเข้าไปสิคะ เราจะประหยัดไปได้ 49,920 บาท นี่มันเกือบครึ่งแสนเลยนะคะ

 


 

 


Image: Bigstock

 


 

 

 

 


2. ตั้งงบในการซื้อเสื้อผ้า ใช้ไม่หมดเอาไปทบเดือนหน้า ครบปีมาดูกันว่าเหลือเท่าไหร่ -- 
งบเสื้อผ้า ตั้งตามกำลังและความอยากของคุณเลยค่ะ แต่อย่าให้เกิน 20%ของเงินเดือนนะคะ สมมติเรามีเงินเดือน 15,000 บาทก็ตั้งงบไป 3,000 บาท ให้เป็นเงินอิสระให้คุณซื้อเสื้อผ้าได้ตามอำเภอใจ แต่อย่าเกินนะคะ (ให้มองว่าเป็นเกม เกินแล้วแพ้) ถ้าเดือนนี้ใช้ 2,000 บาท เหลือ 1,000 บาทเอาไปทบเดือนหน้าเท่ากับคุณมีงบเพิ่มเป็น 4,000 บาท และถ้าทุกเดือนคุณใช้เหลือ 1,000 บาทตลอดจนถึงสิ้นปีเดือน ธค. คุณจะมีงบให้ใช้จ่ายในเดือนนั้นถึง 14,000 บาท (เหลือมากมายขนาดนี้จะเอาไปทำอะไรตามฝันต่อก็ทำเลยนะคะ เงินคุณของคุณ)

 

 

 

ส่วนว่าจะช้อปที่ไหนดีนั้น เรามีแหล่งช้อปปิ้งแนะนำตามนี้ค่ะ: ค้นหางานเซลตอนนี้ ค้นหารายชื่อเอาท์เลท และเสื้อผ้าตัวไหนถ้าไม่ใส่แล้วให้โละขายบน Facebook หรือ IG แปลงเป็นเงินเติมกลับเข้ากองทุนนี้ดีกว่าค่ะ จะได้ไม่เสียของ

 

 

 

 


Image: Bigstock

 

 

 

 


3. ตั้งงบซื้อเครื่องสำอาง ใช้ไม่หมดทบเดือนถัดไป -- วิธีการเหมือนของเสื้อผ้า จะตั้งเท่าไหร่ก็ได้ตามความชอบและกำลังเงินที่หาได้ แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือน คือถ้าเงินเดือน 15,000 คุณมีงบซื้อเดือนแรก 2,250 แนะให้ซื้อตอนมีโปรดีๆ หรือช่วงเซลหนักๆ ช่วงเริ่มต้นที่งบยังน้อย แบบกำลังปั้นงบอยู่ยังเล่นเครื่องสำอางขั้นเทพไม่ได้ ก็ค่อยเล่นตัวถูกและดีไปก่อน เครื่องสำอางดีๆราคาย่อมเยามีอยู่จริง อย่าเพิ่งท้อค่ะ ข้อสำคัญของเกมนี้คือ "ใช้ให้เหลือ" จะเหลือเดือนละ 50 บาท 500 บาทก็เหลือเถอะค่ะ เหลือแล้วชนะ

 

 

 

ส่วนสำหรับคนที่เงินเดือนยังน้อยอยู่อยากแนะให้แต่งเท่าที่จำเป็นนะคะ (ดูไอเทมแต่งหน้าที่จำเป็น) หน้าก็ไม่ได้ต้องแต่งทุกวัน เพราะถ้าแต่งทุกวัน เกิดวันไหนไม่ได้แต่งจะได้ไม่รู้สึกว่าชีวิตขาดหายอะไรไป เล่นแต่งบ้างไม่แต่งบ้างสลับกันไป ลดความจำเจดีนะคะ  


 



Image: Bigstock

 

 

 

 

 

 


4. อุดรูรั่วบัตรเครดิต ต้องดูรายละเอียดทุกเดือน จ่ายมากจ่ายน้อยจ่ายไป แต่อย่าเกินกำหนดชำระ -- อย่ากลัว อย่าหนี อย่ากองไว้ ได้มาปุ๊บให้รีบเปิดดูก่อนเลยค่ะ จะมีจ่ายไม่มีจ่ายเดี๋ยวค่อยคุย เริ่มต้นดูรายการก่อนเลยค่ะว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่งั้นจะเป็นการเสียค่าโง่อย่างแรง เพราะบางทีอาจมีรายการที่เราไม่ได้ใช้ หรือค่ารายปีของบัตรถ้าเราใช้ไม่ถึงกำหนดเงินขั้นต่ำ ชาร์จทีก็หลักพัน เจอแบบนี้ต้องรีบโทรแจ้งยกเลิกนะคะ ทางธนาคารเจ้าของบัตรพอเค้าเห็นว่าเราจะยกเลิกบัตรเดี๋ยวเค้าก็จะ WAIVE ค่ารายปีให้เราเองค่ะ แต่ถ้าไม่ได้เปิดดูล่ะก็คุณก็จะโดนชาร์จไปปีละ 2,000-3,000 แบบไม่รู้ตัวค่ะ  

 

 

 

และที่สำคัญต้องไปจ่ายก่อนกำหนดนะคะ ถ้ายังไม่มีก็จ่ายขั้นต่ำไว้ก่อน อย่าได้จ่ายช้า เดี๋ยวจะเกิดค่าทวงถาม ชาร์จทีก็ 100 บาท โดนทวงถามซัก 5 บัตรต่อเดือน ก็ 500 บาทนะคะ แล้วถ้าเราต้องให้เค้าทวงทุกเดือนลองคิดดูนะคะว่าปีนึงเราจะต้องเสียเงินไปเท่าไหร่ 

 

 



Image: Bigstock

 

 

 

 

 


5. อุดรูรั่วค่าธรรมเนียมบัตร ATM เลือกใช้บัตรที่เหมาะกับเราที่สุด -- บัตรเอทีเอ็มทุกธนาคารมีค่าแรกเข้า ค่าบัตร และค่าธรรมเนียมตอนกดเงินที่แตกต่างกัน ค่าธรรมเนียมกดต่างตู้ธนาคาร เริ่มตั้งแต่ 10-15 บาทต่อครั้ง ค่าโอนต่างธนาคารเริ่มต้น 25 บาทต่อครั้ง ถ้าในเดือนหนึ่งคุณกดต่างธนาคารสัก 10 ครั้ง คุณก็จะโดนไป 10x10 = 100 บาท และถ้ายังจะมีโอนต่างธนาคารอีกเดือนละ 5 ครั้ง x ค่าธรรมเนียมครั้งละ 25 บาท เดือนนั้นก็จะโดนไป 125 บาท รวมค่าธรรมเนียมที่เสียไปแบบเผลอๆ 225 บาท และถ้าเผลอทำติดต่อกันทุกเดือนสัก 1 ปีเต็ม คุณก็จะโดนไป 225x12 เดือน = 2,700 บาท ไม่น้อยเลยนะคะ เอาไปซื้ออะไรได้เยอะเลย เงินสิบบาทยี่สิบบาทนี่มีค่านะคะ เวลาโดนทีแหม่!มันเสียรมณ์ไงไม่รู้ บางทีซื้อของร้าน IG ต่อราคาแทบตายได้ลดยี่สิบบาท เพื่อมาโดนค่าโอนต่างธนาคาร 25 บาทซะงั้น

 

 

 

 

สำหรับใครที่ใช้บัตร ATM กดโอนจ่ายแบบนี้บ่อยๆ แนะนำให้ศึกษาของ TMB All Free ดูค่ะ ตัวนี้เค้าฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง กดได้ทุกตู้ธนาคารทั่วประเทศแถมโอนต่างธนาคาร หรือจ่ายบิลฟรีรวมกันอีก 5 ครั้งต่อเดือน สามารถใช้ร่วมกับแอพ TMB Touch เช็คยอด-โอนเงินผ่านมือถือได้ แต่ว่าบัตร ATM ตัวนี้เค้ามีค่าแรกเข้า 500 บาทในปีแรก ถ้าเราใช้เยอะประมาณตัวอย่างที่ว่ามา เราก็จะสามารถประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้ถึง 2,200 บาทต่อปี นับว่าประหยัดเงินไปได้ไม่น้อยนะคะ

 

 

 


Image: Bigstock

 

 

 

 


6. จะไปเที่ยวไหนให้วางแผนล่วงหน้า หาดีลที่ดีที่สุด -- เงินที่ประหยัดได้จากข้อบนๆ ก็เก็บเข้ากองทุนท่องเที่ยวนะคะ อย่ามัวแต่ทำงานเก็บเงินจนลืมเที่ยวเปิดหูเปิดตา วางแผนเที่ยวแบบล่วงหน้าไกลๆไปเลยนะคะ เป็นการตั้งเป้าเที่ยวแบบให้รางวัลชีวิต จองไปเลยค่ะล่วงหน้า ราคาจะถูกกว่าการจองกระชั้นชิด ทั้งตั๋วเครื่องบิน โรงแรม

ของโรงแรมเช็คที่ Hotelscombined.com ที่นี่เค้ารวบรวมเว็บจองโรงแรมให้เรากดค้นหาในที่เดียว ราคาที่ได้จะเป็นราคาที่ดีที่สุดเปรียบเทียบทุกเว็บให้เราดู ส่วนสายการบินเช็คที่ Skyscanner.co.th 

 

 

 

และอย่าลืมหมั่นไปเดินเล่นตามงานท่องเที่ยวที่เค้าจัดกัน และงานที่พลาดไม่ได้สำหรับคนที่ต้องการดีลท่องเที่ยวดีๆ คืองาน "เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก" ซึ่งจัดที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์เป็นประจำทุกปี (ปีนี้มีวันที่ 14-17 กค. 2559) และอีกงาน "ไทยเที่ยวไทย" (ปีนี้มีวันนี้ 1-4 กันยายนที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ และ 3-6 พย. ที่อิมแพ็คเมืองทอง) งานแบบนี้รับรองเดินสนุก ดีลดีๆมีเยอะ ทั้งดีลโรงแรม ดีลรถเช่าที่นี่จะดีที่สุดค่ะ หรือแม้แต่สายการบินเองก็มีเอาดีลมาเล่นด้วยค่ะ

 




Image: Dreamstime

 

 

 

 

 

สุดท้าย การใช้เงินให้เป็น คือการใช้จ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ต่อชีวิตเรา การใช้จ่ายใดๆที่ทำไปแล้วจะทำให้เราลำบากในอนาคตก็อย่าทำนะคะ ใช้แต่พอเพียง ค่อยๆเก็บค่อยๆออมไป ปิดทุกรูรั่ว เงินที่เสียไปแบบไม่จำเป็นไม่ได้สร้างประโยชน์ใดๆ อย่าเสียค่ะ อะไรที่เลี่ยงได้เลี่ยง เพื่อที่เราจะได้มีเงินเหลือไว้ใช้กับอะไรที่มีคุณค่าจริงๆต่อชีวิตเราดีกว่า :) 

 

 

 


Tags : Money Tips วิธีออมเงิน วิธี เคล็ดลับ หาเงิน เก็บเงิน ใช้เงิน เงินออม เงินเก็บ ออมเงินอย่างไรดี

บทความที่คุณอาจสนใจ

9 วิธีจัดการความเครียดให้อยู่หมัด!

10 นิสัยไม่ดี ยิ่งมียิ่งจน!

9 วิธีใช้ประโยชน์จาก''ครีมนวดผมเหลือทิ้ง'' แบบที่สาวๆไม่เคยนึกถึงมาก่อน!!

ใครว่ามนุษย์เงินเดือนเที่ยวเมืองนอก (ปีละหลายครั้ง) ไม่ได้!

9 วิธีเก็บเงินง่ายๆแบบชัวร์!

ADVERTISEMENT

FIERCE ITEMSRelated|Items

Top