พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีงานอดิเรกและความสนพระทัยในเรื่องต่างๆมากมาย ทั้งทางด้านศิลปะและด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยความเป็นอัจฉริยภาพของพระองค์ ทำให้งานอดิเรกเป็นเรื่องจริงจังเสมอ ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรจะทรงศึกษาให้ถึงที่สุด งานอดิเรกแต่ละอย่างของพระองค์บอกเลยว่าน่าสนใจมากค่ะ และวันนี้เฟียร์ซจะพาสาวๆไปดูงานอดิเรกส่วนพระองค์ มาดูกันสิว่าเวลาว่างในหลวงของเราทำอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
1. ถ่ายภาพ
Image source : pantip.com
ไม่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะเสด็จทรงงานที่ไหน เรามักจะเป็นกล้องถ่ายรูปห้อยอยู่ที่พระศอ (คอ) เสมอ การถ่ายภาพเป็นกิจกรรมที่ทรงโปรดมาตั้งแต่เล็ก เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษา ทรงมีกล้องถ่ายรูปตัวแรก Coconet Midget เป็นกล้องที่ต้องปรับทุกอย่างด้วยตนเอง ทำให้การถ่ายรูปครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ทรงพยายามฝึกฝนจนสามารถใช้กล้องได้อย่างชำนาญ ทรงโปรดการถ่ายภาพขาว-ดำเป็นพิเศษ
นอกจากพระปรีชาด้านการถ่ายภาพแล้ว ยังทรงล้างฟิล์มและอัดขยายภาพได้ทั้งภาพขาว-ดำและภาพสี ต่อมาทรงเห็นว่าภาพถ่ายนั้นมีประโยชน์ จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองช่างภาพส่วนพระองค์ในสำนักพระราชวังขึ้น สำหรับบันทึกภาพ ล้าง และอัดขยาย เพื่ออนุรักษณ์ภาพถ่ายสำคัญไว้ และให้บริการแก่ผู้มาติดต่อขอไปใช้ประโยชน์ค่ะ
Image source : www.theprincessmothermemorialpark.org
Image source : www.gungallery.in.th
2. เล่นดนตรี / แต่งเพลง
Image source : www.chumchonmusic.com
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่างานอดิเรกของพระองค์คือการเล่นดนตรี และทรงมีพระอัจฉริยภาพทางดนตรี จนได้รับการยกย่องจากนักดนตรีทั่วโลก พระองค์ทรงสามารถพระราชนิพนธ์เพลง แยก และเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด และทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วย เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงเรียนก็คือแซกโซโฟน เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ต่อมาทรงฝึกดนตรีแจ๊ส และทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz มาก เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง “แสงเทียน” ถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ปัจจุบันมีบทเพลงในพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลงค่ะ
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเครื่องดนตรีได้ดีหลายชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และประเภทเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเป็ต รวมทั้งเปียโน และกีตาร์ ที่ทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง และเพื่อทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์
Image source : www.myhappyoffice.com
Image source : www.chaoprayanews.com
Image source : www.chaoprayanews.com
บทเพลงพรำราชนิพนธ์ แสงเทียน
3. แล่นเรือใบ / ต่อเรือใบ
Image source : sport.mthai.com
พระองค์โปรดกีฬาหลายชนิด แต่ทรงโปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ ทรงพระปรีชาสามารถด้านกีฬาเรือใบเป็นอย่างมาก ถึงขั้นได้รับเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ทรงศึกษาเทคนิคการแล่นเรือใบ และทรงฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น นอกจากนี้ยังทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เองเป็นกิจกรรมยามว่าง พระองค์ทรงออกแบบต่อเรือใบ “ซุปเปอร์มด” ที่เบาและเร็วที่สุดอีกด้วย
Image source : www3.navy.mi.th
Image source : www3.navy.mi.th
Image source : www.yrat.or.th
เมื่อ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระองค์ทรงเรือใบข้ามอ่าวไทย จากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ไปยังอ่าวสัตหีบ จ.ชลบุรี พระองค์เดียว ใช้เวลาแล่นเรือใบนานถึง 17 ชม. เต็ม ทรงพระปรีชาสามารถด้านกีฬาเรือใบอย่างแท้จริงค่ะ
4. วาดภาพ
Image source : www.oknation.net/blog/tiktoon
นอกจากดนตรีแล้ว พระองค์ยังทรงโปรดการวาดภาพจิตรกรรม ทรงศึกษาและฝึกฝนด้วยพระองค์เอง และมีศิลปินอาวุโสเข้าเฝ้าถวายคำปรึกษาในการวาดภาพบ้างเป็นครั้งคราว เดิมทีพระองค์สนพระทัยในศิลปะด้านจิตรกรรมมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยศึกษาด้วยตนเองจากตำราต่างๆ และเมื่อสนพระทัยในศิลปินคนใด ก็จะเสด็จทรงเยี่ยมศิลปินผู้นั้นถึงที่พัก เพื่อทอดพระเนตรเทคนิคต่างๆ แล้วนำกลับมาฝึกฝนด้วยพระองค์เอง จนได้ภาพวาดศิลปะต่างๆมากมาย
Image source : kanchanapisek
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (เทคนิคสีน้ำมัน)
สีน้ำมัน
พ.ศ. ๒๕๐๗, ๖๘ x ๘๓ ซม.
รหัส ภอ. ๔ - ๐๗
5. เขียนหนังสือ
Image source : socialnews.teenee.com
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรม โดยมีพระราชนิพนธ์ด้วยกันหลายเรื่อง พระราชนิพนธ์เรื่องแรก “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” (พ.ศ. 2489) ถูกตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2490 ในหนังสือรายเดือนชื่อ วงวรรณคดี โดยพระบรมราชานุญาตพิเศษเฉพาะหนังสือเล่มนี้เท่านั้น เนื้อหาเกี่ยวกับบันทึกส่วนพระองค์ในช่วงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ ใจความสำคัญที่ตราตรึงใจประชาชนจนถึงทุกวันนี้ก็คือ
ใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาส่งไปว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจะละทิ้ง อย่างไรได้” แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว - ความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์”
Image source : socialnews.teenee.com
ต่อมาได้พระราชนิพนธ์หนังสืออีกหลายเล่ม ได้แก่ พระมหาชนก ทองแดง และทองแดงฉบับการ์ตูน และพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และติโต ในหนังสือใช้ภาษาที่สวยงาม แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านภาษาของพระองค์อย่างมาก
6. เลี้ยงสัตว์
Image source : www.manager.co.th
ตั้งแต่ทรงพระเยาว์พระองค์มีสัตว์เลี้ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง หรือแม้แต่งูก็เคยทรงเลี้ยงมาแล้ว คุณทองแดงเป็นสุนัขทรงเลี้ยงที่พวกเรารู้จักมากที่สุด เพราะความฉลาดแสนรู้ และความจงรักภัคดีต่อพระองค์ท่าน ต่อมาคุณทองแดงได้ออกลูกออกหลานให้พระองค์ทรงเลี้ยงอีกมากมาย เวลาที่พระองค์ประทับกับบรรดาสุนัขทรงเลี้ยง ช่างเป็นภาพที่อบอุ่นและมีความอ่อนโยนมากค่ะ
Image source : www.senatermutr.net
7. ถ่ายภาพยนตร์
Image source : www.oknation.net/blog/charlee
นอกจากพระองค์จะสนพระทัยในการถ่ายภาพนิ่งแล้ว ยังสนพระทัยในการถ่ายภาพยนตร์อีกด้วย โดยมีบันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงถ่ายภาพยนตร์ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จอยู่สองฟากแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังทรงมีพระราชดำรัสให้จัดทำ “ภาพยนตร์ส่วนพระองค์” ขึ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ พระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดฉายสู่ประชาชนเรื่องแรก คือภาพยนตร์ข่าวพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใน พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นได้มีการจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์อีกอย่างน้อย 16 เรื่อง ในโรงภาพยนตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2493 - 2510 เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขค่ะ
งานอดิเรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ยังมีอีกมากมาย ด้วยทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ ทรงสนพระทัยในสิ่งต่างๆมากมาย ทั้งทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ ความสุขเล็กๆน้อยๆของพระองค์คือการได้ลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยพระองค์เอง และเมื่อสนพระทัยเรื่องใดแล้ว จะทรงศึกษาให้รู้ดีที่สุด นอกเหนือจากความเป็นอัจฉริยภาพ ยังทรงมีความมานะพยายาม ทรงศึกษาจนกว่าจะทรงรู้แจ้งในเรื่องนั้นๆ พระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทยทุกคนค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจาก: oudz.tripod.com | positioningmag.com | www.ku.ac.th | www.kingramamusic.org/th | www.manager.co.th |
www.bloggang.com/haiku | www.vcharkarn.com | www.zeawleng.in.th