พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นพระอัจฉริยภาพทางด้านการถ่ายภาพ กีฬา งานช่าง วิทยุสื่อสาร และอีกด้านที่โดดเด่นคือด้านดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงไว้มากมาย วันนี้เฟียร์ซได้รวมข้อมูล เรื่องราวน่ารู้ต่างๆเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในด้านดนตรีมาฝากค่ะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพ่อหลวงผู้เป็นแบบอย่างให้เราในทุกๆเรื่อง
1. ทรงเริ่มสนพระทัยดนตรีเมื่อพระชนพรรษา 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่นด้วยเงินเก็บของพระองค์เองบางส่วนและเงินของสมเด็จย่าบางส่วน
2. เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่น คือ แอคคอร์เดียน
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
3. ครูสอนดนตรีให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
4. เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
5. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ "แสงเทียน" เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์
6. เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island"
ขอบคุณรูปจาก baabin.com
7. จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
8. "ความฝันอันสูงสุด" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43 เกิดได้เนื่องจากท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติ เพื่อประเทศชาติ ออกมาเป็นกลอน 5 บท สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน "ความฝันอันสูงสุด" ใน พ.ศ. 2514
9. เพลงพระราชนิพนธ์ "Blue Night" ของพระองค์ยังเคยถูกนำไปใช้ประกอบละครบรอดเวย์เรื่อง "Peep Show" ผลงานของไมเคิล ทอดด์ โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์และละครเวทีชื่อดังชาวอเมริกัน
10. เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538
11. เพลง "ชะตาชีวิต" ทรงพระราชนิพนธ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
12. เพลงพรปีใหม่ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2498 โดยมีพระราชประสงค์พระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทย พระราชทานเพลงแก่วงดนตรี 2 วงคือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ.2499
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
13. ที่มาของชื่อเพลง "H.M. Blues" ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหมายถึง His Majesty’s Blues แต่แท้จริงหมายถึง Hungry’s Men’s Blues เพราะเหตุว่าในงานรื่นเริงที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเชิญข้าราชบริพาร นักเรียนไทย ไปร่วมงานเป็นการส่วนพระองค์นั้น ทรงบรรเลงเพลงเป็นเวลาถึงครึ่งคืนโดยมิได้หยุดเพื่อเสวยพระกระยาหารเลย ในขณะที่ผู้ได้รับเชิญทุกคนได้รับพระราชทานอาหารอิ่มหนำสำราญ เนื้อหาในภาษาอังกฤษจึงแสดงอารมณ์ขันและแฝงความสนุกสนานต่างกับท่วงทำนองของเพลงบลูส์
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
14. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกที่ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงหยิบซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น ซึ่งกลายเป็นเพลง "เราสู้"
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
15. "รัก" เป็นเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากบทกลอนซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะเมื่อมีพระชนมายุ 12 พรรษา ทรงศึกษาอยู่ในชั้นประถมปีที่ 7 ณ โรงเรียนจิตรลดา ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรบทกลอนดังกล่าว จึงโปรดมาก และได้กราบบังคมทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้น
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
16. แม้แต่ศิลปินแจ๊ซที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง ไลโอเนล แฮมป์ตัน และเบนนี กู๊ดแมน ก็ยังชื่นชมพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีและการทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างมาก
ขอบคุณรูปจาก : photoontour.com
17. ปี พ.ศ 2507 สถาบันการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยการดนตรี และศิลปะการแสดง ได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตร และสมาชิกกิตติมศักดิ์ลำดับที่ 23 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมนามาภิไธย "ภูมิพลอดุลยเดช" ปรากฏอยู่บนแผ่นจำหลักหิน ของสถาบัน ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นชาวเอเชียเพียงผู้เดียวที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.kroobannok.com/4355
http://www.rspg.or.th/song/love.html
http://www.kingramamusic.org/th/article/7_