ใครที่ติดตามข่าวสารกันอยู่ช่วงนี้ คงรับรู้ถึงการมาถึงของ 5G กันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหล่าเครือข่ายหรือผู้ผลิตมือถือทั่วโลกก็เริ่มออกมาเคลมว่าตัวเองรองรับ 5G กันหมด แล้วมันมีเรื่องอะไรที่เราควรเรียนรู้หรือบ้าง กับ 5G สิ่งที่หลายคนมองว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกกันไปเลยทีเดียว อาจจะฟังดูไกลตัวแต่ที่จริงแล้วมันใกล้ตัวกว่าที่เราคิด จะมีอะไรที่เราควรรู้กันบ้างไปชมกันเลยค่าาาา
1. 5G คืออะไร?
(Photo credit: Freepik)
5G ย่อมาจาก เจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ (5th Generation of Cellular Mobile Communications) มีการประกาศใช้ในช่วงปี 2020 โดยคุณสมบัติของเครือข่ายที่จะเรียกตัวเองว่า 5G ได้นั้นจะมีดังนี้
- ความเร็วสูงสุด 10Gbps
- Latency ระยะเวลาการเชื่อมต่อไปยังปลายทาง น้อยกว่า 0.001 วินาที
- มีความเสถียรใช้งานได้ 99.9999%
- ครอบคลุมพื้นที่ 100%
- มี Bandwidth เพิ่มขึ้น 1000 เท่าในแต่ละพื้นที่
- รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 100 เท่า ในแต่ละพื้นที่
- ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90%
- อุปกรณ์ IoT พลังงานต่ำเมื่อเชื่อมต่อแบตจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี
2. แต่ละ Generation ได้มีการพัฒนากันอย่างไรบ้าง?
(Photo credit: Freepik)
- 1G การคุยกันด้วยเสียง
- 2G รองรับการส่งข้อความหากัน
- 3G เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไป
- 4G ดูภาพและเสียงได้
- 5G การเชื่อมต่อสิ่งของทุกสรรพสิ่ง
3. ความเปลี่ยนแปลงจาก 4G → 5G เป็นอย่างไร
(Photo credit: Freepik)
1. Latency การตอบสนองที่ไวขึ้น สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว หรือแทบจะทันที
2. Data Traffic รองรับการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
3. Peak Data Rates ความเร็วเพิ่มขึ้นสูงสุด 20 Gbps ราว 20 เท่าจาก 4G
4. Available Spectrum สามารถใช้งานคลื่นได้จนถึงความถี่ 30GHz
5. Connection Density ความหนาแน่นของการใช้งาน กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.
4. ประโยชน์ที่ได้รับจาก 5G มีอะไรบ้าง?
(Photo credit: Freepik)
ตอนนี้ มีการแบ่งการใช้งาน 5G ออกเป็น 3 แกนหลักด้วยกัน ได้แก่
1. SPEED การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นกว่า 24 เท่า ของ 4G สามารถดาวน์โหลดไฟล์ หนังระดับ 4K หรือ 8K หรืออัลบั้มเพลงได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ไม่มีสะดุด การสืบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Mobile Internet ก็ทำได้ในเวลาเสี้ยววินาที หรือการใช้งานแบบเรียลไทม์มากยิ่งขึ้น
2. LATENCY อัตราการตอบสนองได้ที่รวดเร็วในระดับที่น้อยกว่า 1-10 Millisecond สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น การผ่าตัดทางไกล รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ การควบคุมเครื่องจักรในโรงงานหรือในพื้นที่ก่อสร้างจากระยะไกล เป็นต้น
3. CONNECTIVITY การรองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในระดับล้านตัวต่อ 1 ตารางกิโลเมตร หรือมากกว่าถึง 10 เท่า ซึ่งตัวอย่างการใช้งานที่ชัดเจนสุดในกรณีนี้คือ การสร้าง Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ที่ต้องการเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ จำนวนมากในพื้นที่เมืองไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์วัดคุณภาพน้ำและอากาศ เซ็นเซอร์เพื่อควบคุมระบบแสงสว่างในเมือง
5. ข้อเสียของ 5G มีอะไรบ้าง?
(Photo credit: Freepik)
เนื่องจากต้องใช้คลื่นความถี่ที่สูงมาก ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา สามารถดำเนินการได้ด้วยข้อมูลจำนวนมาก และมีสัญญาณการถ่ายโอนข้อมูลที่มีค่าความล่าช้าน้อยที่สุด ด้วยประโยชน์ดังกล่าว จึงต้องแลกมาด้วยปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นความถี่สูงจะส่งผ่านในระยะสั้น และก็ไม่สามารถเจาะอาคารได้ดีอีกด้วย ทำให้ต้องอาศัยเสาสัญญาณกับเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย สิ่งที่ต้องกังวลคือค่าใช้บริการจะเป็นอย่างไร
จบกันไปแล้วนะคะกับ 5G ที่สาวๆทุกคนคงได้เรียนรู้ ไม่มากก็น้อย แถมยังมีความสำคัญมากๆต่อการเปลี่ยนแปลง สาวๆคิดเห็นกันยังไงบ้าง มาแชร์กันได้นะคะ