แน่นอนว่าทุกคนในช่วงเวลานี้อาจจะคิดเหมือนกันว่า เราผ่านอะไรกันมาเยอะจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังคม เรื่องของความรุนแรง หรือความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดขึ้น สาวๆทุกคนอาจสงสัยว่าแล้วสิ่งที่เราควรทำหลังจากนี้คืออะไร ไปชมกันเลยค่า
1. ควรเลือกเสพสื่อเฉพาะสื่อที่เป็นกลาง
(Photo credit: bigstock)
รู้ว่าสื่อที่เราควรเลี่ยงคืออะไร ไม่ควรแชร์อะไรที่เป็นข่าวหลอกหรือไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า เราสามารถเล่นโซเชียลเพื่อความสนุกได้แต่ไม่ควรคอมเม้นท์หรือแชร์ดราม่าต่างเพราะนั้นอาจสร้างความแตกตื่นให้เกิดขึ้นได้อีก
2. หลีกเลี่ยงการวิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่เพราะเจ้าหน้าที่จะได้ทำงานได้อย่างเต็มที่
(Photo credit: bigstock)
สิ่งที่ต้องระวังหรือควรหลีกเลี่ยงคือการวิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ หรือต่อว่าการทำงานเพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในเหตุการณ์จริงมีอะไรที่ต้องจัดการบ้าง แล้วคนหน้างานทำไมจึงทำเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่สามารถมีอิสระต่อการทำงานแล้ว เขาจะทำงานนั้นๆให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ไม่ให้ความสำคัญและไม่กล่าวถึงชื่อผู้ร้ายเพื่อป้องกันพฤติกรรมการเลียนแบบ
(Photo credit: bigstock)
ระวังการใช้ถ้อยคำไม่ยกย่องหรือเชิดชูหรือประณามคนร้ายเพื่อเลี่ยงพฤติกรรมการเลียนแบบ แต่ให้พูดถึงคนที่ทำความดีแทน เพื่อเลี่ยงการจดจำหรือภาพจำเกี่ยวกับคนร้ายและไม่ให้ความสำคัญกับคนร้าย เพื่อที่จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยหรือเป็นช่องทางสำหรับคนที่ต้องการได้รับความสนใจแบบผิดๆทำการกระทำดังกล่าวซ้ำไปอีก
4. ควรเสพข่าวอย่างมีสติไม่ตื่นตระหนก
(Photo credit: bigstock)
เราไม่ควรจะตื่นตระหนกกับข่าวที่ออกมามากจนเกินไป จนทำให้จิดใจเราดิ่งไปกับสถานการณ์ที่หดหู่ เพราะนั้นอาจทำให้ตัวของเราเองเกิดความเศร้าและนำไปสู่การเกิดภาวะของโรคซึมเศร้าได้ค่ะ หรือเราอาจจะเกิดอาการตื่นตระหนกจนเกินความจำเป็นทำให้เราใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวง
5. ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง
(Photo credit: bigstock)
ไม่ประมาทหรือชะล่าใจมากเกินไป ทุกคนต้องระวังตัว ไม่ต้องถึงขั้นวิตกกังวลมากกับเรื่องต่างๆ เราควรใช้ชีวิตให้เป็นปกติแต่ต้องเพิ่มการเตรียมตัวรับมือกับเรื่องไม่คาดคิดไว้
6. หาข้อมูลเตรียมความพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
(Photo credit: bigstock)
ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่น เช่น Police i lert you, EMS1669, Fast Track และเบอร์ฉุกเฉิน เช่น 191, 1137, 1669 ควรมีติดเครื่องไว้หรือควรมีข่องทางในการส่งความช่วยเหลือทางโซเชียล ถ้าคุณเห็นอะไรหรือสงสัยอะไรให้แจ้งรีบเจ้าหน้าที่ทันที
7. หมั่นศึกษาหาข้อมูลวิธีการเอาตัวรอดให้เป็นนิสัย
(Photo credit: bigstock)
(Video credit: Bangkok Hospital Phuket)
ตัวอย่างวิดีโอการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR
(Video credit: Thai PBS News)
ตัวอย่างวิดีโอแนะ 8 วิธีเอาชีวิตรอด เหตุไฟไหม้อาคารสูง
ณ จุดๆนี้ต้องเป็นตนเป็นที่พึ่งของตน เราควรเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ นอกจากจะช่วยชีวิตตัวเองได้แล้ว ยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย เช่น การ Cardiopulmonary resuscitation ช่วยฟื้นคืนชีพ, วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้อาคารสูง
8. เมื่อไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นให้สังเกตมองหาทางออกที่ใกล้ที่สุด
(Photo credit: bigstock)
ถ้าไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยให้สังเกตมองหาทางออกที่ใกล้ที่สุดสองทางออกในทุกๆที่ที่คุณไป วางแผนทางหนีทีไล่ไว้ในใจรู้คร่าวๆเป็นพอค่าสาวๆ
9. เรียนรู้โหมดเบอร์ฉุกเฉินไว้
(Photo credit: bigstock)
ไม่มีสัญญาณหรือไม่มีเงิน จะโทรติดตลอด โทรศัพท์มือถือที่ขายในประเทศไทย จะถูกกำหนดให้บันทึกหมายเลข 112 เป็นเบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉินทุกเรื่อง เหมือน 911 ของอเมริกาค่ะ ซึ่งตอนนี้จะมีระบบตอบรับอัตโนมัติให้กดเลือกว่าจะแจ้งเหตุอะไร และควรเรียนรู้การใช้นี้ไว้เพื่อเพราะมันอาจจะเป็นประโยชน์มากๆตอนเราเกิดเหตุฉุกเฉินค่ะ
10. เรียนรู้การปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
(Photo credit: bigstock)
ในช่วงเหตุการณ์วิกฤติ เพราะโทรศัพท์บางเครื่องแม้จะปิดเสียงโทรศัพท์แล้ว แต่พวกแจ้งเตือนในแอพบางตัวยังสามารถเตือนด้วยเสียงได้อยู่เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ การป้องกันตัวเองได้ก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ค่ะ
จบกันไปแล้วนะคะกับ 10 ข้อที่เราควรรู้ และควรทำ หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน การเตรียมความพร้อม และการตั้งรับกับเรื่องที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เฟียร์ซอยากจะให้สาวๆทุกคนได้เข้าใจกันไว้ก่อนนะคะ